ชื่อเรื่อง : ผลการใช้ชุดกิจกรรมการกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวที่มีต่อพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา
ผู้วิจัย : นางสาวยิ่งพร เจียตระกูล
สถานศึกษา : ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา
ปีที่ทาการวิจัย : ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวที่มีต่อพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา และเปรียบเทียบพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติก ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ในกรณีศึกษาเด็กออทิสติก เพศหญิง จานวน 1 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว จานวน 9 แผน ใช้เวลาวิจัยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ 2)แบบบันทึกความถี่ของการเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การออกเสียงกรีดร้อง การนอนกลิ้งกับพื้น และการเอามือปิดหู ของเด็กออทิสติกในระหว่างทาการวิจัยตามช่วงเวลา (นาที) และ 3)แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทากิจกรรมชุดกิจกรรมกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย นาเสนอข้อมูลในรูปของตารางและกราฟเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละความถี่ของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์แต่ละระยะประกอบความเรียงเชิงพรรณนา ตามแผนการวิจัยแบบ Single Subject Design รูปแบบ ABA Design ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ผลการใช้ชุดกิจกรรมการกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวที่มีต่อพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจาจังหวัดพะเยา สามารถลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การออกเสียงกรีดร้อง การนอนกลิ้งกับพื้น และการเอามือปิดหู ของเด็กออทิสติกกรณีตัวอย่างลง โดยเห็นได้อย่างชัดเจน
- ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจาจังหวัดพะเยา ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว มีความแตกต่าง คือ ในระยะหลังการทดลองหรือระยะถอนกิจกรรม (A2) พฤติกรรมการออกเสียงกรีดร้อง ลดลงจากระยะเส้นฐานร้อยละ 17.16 ยังไม่อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาระดับพฤติกรรม พฤติกรรมการนอนกลิ้งกับพื้น ลดลงจากระยะเส้นฐานร้อยละ 20 ถือว่าอยู่ในระดับพอใช้ และพฤติกรรมการเอามือปิดหู ลดลงจากระยะเส้นฐานร้อยละ 27.03 ถือว่าอยู่ในระดับพอใช้ สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ว่าการใช้ชุดกิจกรรมกระตุ้นการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว สามารถลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติกกรณีศึกษาได้